วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

สร้างฐานข้อมูลลูกค้าอย่างสร้างสรรค์

ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนอย่างนี้ ธุรกิจจะต้องใช้งบประมาณการตลาดอย่างจำกัดและได้ประสิทธิภาพมากที่สุด หรือที่เรียกว่า ROI ที่ดีที่สุด หนึ่งในกลยุทธ์ที่มักจะนำมาใช้ในภาวะการณ์เช่นนี้ก็คือ การตลาดกับฐานข้อมูลลูกค้าของเรา ลูกค้าของเราในที่นี่รวมไปถึง ลูกค้าที่ซื้อสินค้าและบริการของเรา ลูกค้ามุ่งหวังที่ติดต่อกัน ลูกค้ามุ่งหวังที่สนใจในสินค้าและบริการของเรา เป็นต้น ดังนั้นไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเล็กหรือใหญ่ จะเป็นร้านอาหาร องค์กรไม่หวังผลกำไร หรือ ธุรกิจข้ามชาติก็ตาม คุณก็คงจะต้องการบริหารฐานข้อมูลลูกค้าของคุณให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน หลายบริษัทก็ยังไม่มีแนวทางในการรวบรวมข้อมูลลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
            อย่างไรก็ตาม วันนี้ผมขอคุยเรื่องวิธีสร้างฐานข้อมูลลูกต้าของคุณก่อน คุณจะต้องหาเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลสำคัญของลูกค้าของคุณด้วย ข้อมูลสำคัญที่คุณไม่ควรพลาดและสำคัญยิ่งกว่าชื่อ-นามสกุล เสียอีก นั้นก็คือข้อมูลสำหรับการติดต่อสื่อสาร เช่น อีเมล์ เบอร์มือถือ หรือที่อยู่ ก็ตาม เพราะถ้าคุณไม่มีข้อมูลนี้ คุณก็ไม่สามารถที่จะติดต่อพวกเขาได้อยู่ดี ข้อมูลเชิงลึกอื่นๆ เช่น วันเกิด ความชอบ กิจกรรมที่สนใจ เป็นต้น สามารถรวบรวมภายหลังได้ เมื่อมีการติดต่อบ่อยครั้งเรื่อยๆ แต่คุณจะต้องสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าของคุณด้วย พวกเขาถึงจะยอมให้ข้อมูลส่วนตัวของพวกเขามากขึ้น
สร้างสรรค์ที่ 1 จัดกิจกรรมจับรางวัลทุกเดือน วิธีนี้ง่ายที่สุด เพียงแค่คุณจับผู้โชคดีอย่างน้อยเดือนละครั้งสำหรับผู้ให้ข้อมูลในแต่ละเดือน ที่เห็นบ่อยๆ ก็เห็นจะเป็นร้านอาหารที่ตั้งกล่องรับนามบัตร แล้วจับนามบัตรที่โชคดีประจำสัปดาห์เพื่อรับอาหารเช้าฟรี เป็นต้น
สร้างสรรค์ที่ 2 จัดแข่งขันล่ารายชื่อ คุณอาจจะเริ่มจากการจัดแข่งขันระหว่างพนักงาน หรืออาสาสมัครในการรวบรวมรายชื่อและอีเมล์ จากลูกค้า ลูกค้ามุ่งหวังหรืออื่นๆ แล้วได้รับรางวัลสำหรับผู้ชนะ วิธีนี้คุณอาจจะต้องแนะนำเทคนิคในการได้มาซื่งรายชื่อและอีเมล์ด้วย มิฉะนั้น ลูกค้าจะเกิดความรู้สึกรำคาญได้
§  ขอนามบัตรจากลูกค้าทุกครั้งที่พบ ถ้าพวกเขาต้องการรับ Newsletter จากเรา
§  ขอนามบัตร หรือเขียนชื่อและที่อยู่จากลูกค้าทุกครั้งที่ซื้อสินค้าและบริการ ณ จุดชำระเงิน (POS) เป็นต้น
§  สำหรับลูกค้าที่ออนไลน์อยู่แล้ว ให้ถามลูกค้ามาลงทะเบียนในแบบฟอร์มรับสมัครสมาชิก เพื่อรับสิทธิพิเศษทุกครั้งที่สนทนา ไม่ว่าจะใน Facebook หรือ Twitter
§  แชร์เนื้อหาหรือบทความดีๆ ใน Social Media แล้วเชิญชวนให้สมัครสมาชิก ถ้าหากพวกเขาต้องการรับข่าวสารประเภทเดียวกันผ่านทางอีเมล์หรืออื่นๆ
บริษัทจะต้องออกแบบแบบฟอร์มให้กับพนักงานหรืออาสาสมัครแต่ละคน เพื่อแยกแยะสมาชิกที่ลงทะเบียนของแต่ละคนด้วย
สร้างสรรค์ที่ 3 ลงทะเบียนรับ Newsletter ให้ลูกค้า เมื่อใดก็ตามที่คุณพบลูกค้า แนะนำให้คุณลงทะเบียนพวกเขาเป็นสมาชิกรับ Newsletter จากคุณทันที คุณจะต้องมีแอปพลิเคชั่นและสมาร์ทโฟนในการลงทะเบียนขณะนั้น จากนั้นระบบจะต้องส่งอีเมล์ฉบับแรกไปถึงลูกค้า เพื่อการแนะนำ Newsletter ประโยชน์ที่พวกเขาจะได้รับ แต่อย่าลืม เปิดช่องทางให้ลูกค้าสามารถยกเลิกได้ทันที หากเขาไม่ยินดีที่จะรับอีเมล์ของคุณต่อไป วิธีการนี้เรียกว่า Opt-out
หัวใจสำคัญอยู่ที่ความเร็วในการลงทะเบียนของคุณ หากคุณทิ้งเวลาไว้นานเกินไป ลูกค้าอาจจะลืมคุณไปแล้วก็ได้ และอยู่ที่ความประทับใจในอีเมล์ฉบับแรกของคุณด้วย ข้อความและการนำเสนอในอีเมล์ฉบับแรกจะต้องสร้างความประทับใจและทำให้เกิดความต้องการที่จะรับอีเมล์ต่อไปในอนาคตด้วย
            เทคนิคนี้นำไปใช้กับงานสัมนนา อีเวนท์ต่างๆ ได้ โดยนำเทคนิคนี้ไปร่วมกับสร้างสรรค์ที่ 2 ก็ได้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันและผลตอบแทนให้กับพนักงาน
สร้างสรรค์ที่ 4 สร้างกิจกรรมให้แชร์ใน Social Network วิธีนี้ง่ายๆ เพียงแค่แชร์แบบฟอร์มลงทะเบียนใน Social Network ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter หรือ YouTube ก็ตาม แล้วให้เพื่อนๆ บอกต่อเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการรับ Newsletter ของคุณ ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คงจะเป็นกิจกรรม “เพื่อนแนะนำเพื่อน” ของ Future Park ใน Facebook.com/FutureParkSociety

            เหล่านี้เป็นเทคนิคสร้างสรรค์ส่วนหนึ่งเท่านั้น คุณลองประชุมระดมสมิงภยในผ่ายการตลาดหรือพนักงานกันดูนะครับ ว่าจะมีเทคนิคสร้างสรรค์อะไรนอกเหนือจากนี้บ้าง รับประกันได้ครับว่า วันหนึ่งคุณจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากฐานข้อมูลลูกค้าเหล่านี้

นาวิก นำเสียง
eCampaign101 Email & SMS Marketer

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การตลาดแบบ Opt-in หรือ Opt-out ดี?

สำหรับนักการตลาดที่รู้จักกับนิยามของทั้งสองคำนี้แล้ว ผมเชื่อว่านักการตลาดที่ดีทุกคน รวมถึงผู้บริโภคเองก็ต้องการการตลาดแบบ Opt-in รวมถึงตัวผมเองด้วย แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่า ในความเป็นจริงแล้วบริษัทที่ผมรู้จักส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้การตลาดแบบ Opt-out อยู่ รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่ด้วยซ้ำ อาจจะเป็นไปได้ว่าพวกเขาดำเนินการตลาดแบบ Opt-out โดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้ ดังนั้น ระดับความเข้นข้มของการใช้การตลาดแบบ Opt-in หรือ Opt-out จะมากหรือน้อยเท่าไร ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจขององค์กรด้วย ไม่ใช่เพียงการตัดสินใจของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในองค์กรเท่านั้น
            แล้วสองคำนี้มันต่างกันอย่างไร? Opt-in หมายถึงการสื่อสารไปยังผู้บริโภคหรือผู้รับ โดยที่ผู้บริโภคอนุญาติให้ติดต่อ เช่น การส่งด้วยสื่อโฆษณาอีเมล์ที่ผู้รับลงทะเบียนเอง เป็นต้น เชื่อมั้ยว่าคุณอาจจะไม่รู้ตัวเองว่าดำเนินการตลาดแบบ Opt-in อยู่รึเปล่า คุณลองถามตัวเองว่าโฆษณาที่คุณสื่อไปยังผู้บริโภคของคุณ เขาคาดหวังที่จะรับสื่อของคุณรึเปล่า? ถ้าไม่ใช่ แสดงว่า ไม่ใช่ Opt-in ครับ
            ในทางตรงกันข้ามกับ Opt-in ก็คือ Opt-out เพียงแต่ขอเพิ่มอีกนิดว่า เมื่อคุณสื่อสารไปยังผู้บริโภคที่ไม่ได้เต็มใจรับสื่อของคุณแต่แรกหรือไม่เคยลงทะเบียนรับข่าวสารจากคุณ เมื่อไรพวกเขายกเลิกการรับสื่อของคุณ ที่เรียกว่า Opt-out หรือ Unsubscribe คุณก็จะต้องยกเลิกการสื่อสารกับผู้บริโภคในครั้งต่อไปทันที มิฉะนั้นแล้ว คุณจะเข้าข่ายของ Spam ทันที และโทษของการเป็น Spam มันรุนแรงมาก มันจะทำลายแบรนด์ของคุณอย่างสิ้นเชิง
            จริงแล้ว หลายบริษัทใช้การสื่อสารแบบ Opt-out โดยไม่รู้ตัว การส่งอีเมล์ไปยังลูกค้าที่ใช้บริการของบริษัท เพราะบริษัทคิดว่าลูกค้าน่าจะได้รับข่าวสารจากบริษัทบ้าง แต่ที่จริงแล้ว เค้าอาจจะไม่ต้องการก็ได้ หรือการส่งอีเมล์ไปยังลูกค้ามุ่งหวังหรือลูกค้าที่เพียงทดลองใช้บริการเท่านั้น แต่คุณก็ยังส่งอีเมล์แจ้งข่าวสารและโปรโมชั่นอยู่
            ถึงแม้ว่าการสื่อสารข้างต้นแบบ Opt-out จะดูไม่ผิดกฏหมายก็ตาม แต่คุณก็ควรจะทราบข้อดีและข้อเสียของมันด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการป้องกันตัวคุณเองและธุรกิจของคุณด้วย
            จากการสำรวจของ MarketingSherpa ในปี พ.ศ. 2552 พบว่า ร้อยละ 74 ของผู้บริโภคที่ได้รับอีเมล์ที่พวกเขาไม่เคยลงทะเบียนยินยอมรับข่าวสาร จะถือว่าอีเมล์เหล่านั้นเป็น Spam ดังนั้น อีเมล์ฉบับแรกที่คุณส่งให้ผู้บริโภคแบบ Opt-out คุณก็จะมีแนวโน้มเป็น Spam ได้ ข้อแนะนำของผมคือ คุณจะต้องแยกรายชื่ออีเมล์ที่คุณเพิ่งได้รับมาหรือยังไม่เคยส่งอีเมล์ เป็นอีกกลุ่มพิเศษ “Lead”  แล้วเริ่มต้นด้วยการส่งอีเมล์ฉบับแรก ในอีเมล์ฉบับแรกให้คุณชี้แจ้งว่าทำไมคุณถึงติดต่อพวกเขา ประโยชน์ที่พวกเขาจะได้รับจากอีเมล์ของคุณ คุณจะส่งอีเมล์ด้วยความถี่เท่าไร เช่น ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกวัน เป็นต้น คุณจะต้องมีทางเลือกให้ผู้บริโภคยกเลิกการรับอีเมล์ของคุณด้วย ยิ่งเป็นการยกเลิกด้วยคลิกเดียวทันที หรือ Instant Opt-out ก็จะดีที่สุด สุดท้าย แยกผู้บริโภคเหล่านี้เป็นอีกกลุ่มใหม่ “Unsubscribed” ทันที แล้วห้ามส่งอีเมล์ไปยังผู้บริโภคเหล่านี้อีกต่อไป
            ปัญหาต่อมาที่จะเกิดขึ้นกับการตลาดแบบ Opt-out ก็คือ คุณจะถูกรายงานว่าเป็น Spam โดยผู้รับจะแจ้งไปยังผู้ให้บริการอีเมล์ อย่าง Gmail, Yahoo, Hotmail หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอื่นๆ ตามแต่อีเมล์ที่พวกเขาใช้กัน เมื่อคุณถูกรายงานว่าเป็น Spam จำนวนมากเพียงพอ อีเมล์ของคุณก็จะถูกรายงานให้อยู่ในกลุ่ม Blacklist ในเวลาต่อมา และก็ไม่สนุกเลยถ้าอีเมล์ของคุณติดอยู่ในกลุ่ม Blacklist เหล่านั้น เพราะต่อจากนี้ไป อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกส่งลงกล่องขาเข้า หรือ Inbox อีกต่อไป
            ที่เลวร้ายไปกว่านั้นอีก อีเมล์ของบริษัทที่ใช้ที่อยู่อีเมล์เดียวกันนี้ ก็จะถูก Blacklist เช่นกัน บ่อยครั้งที่พนักงานในบริษัทบ่นกับฝ่ายสารสนเทศว่า ทำไมอีเมล์ของพวกเขาส่งไปไม่ถึงผู้รับหรือลูกค้า สาเหตุหนึ่งก็อาจจะมาจากฝ่ายการตลาดส่งอีเมล์จำนวนมาก แบบ Opt-out มันไม่ง่ายเลยที่จะปลดออกจากกลุ่ม Blacklist ได้ คุณต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะถูกปลดออกจากกลุ่ม Blacklist หรือถ้าต้องการให้เร็วหน่อย คุณก็ต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก
            ผมขอแนะนำว่า คุณอย่าส่งอีเมล์ถึงผู้บริโภคที่คุณไม่เคยรู้จักกันเลย หรือ พวกเขาไม่เคยรู้จักคุณมาก่อน อย่าซื้อ อย่าเช่า และอย่าขโมยรายชื่ออีเมล์จากเว็บไซต์ต่างๆ เพราะคุณกำลังเข้าข่ายของ Spam ทันที จากนั้น แนะนำให้คุณส่งอีเมล์กลุ่มพิเศษที่เป็นการส่งครั้งแรก “Lead” จำนวนน้อยๆ ในแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันการถูกรายงานว่าเป็น Spam และ Blacklist ในที่สุด
            คุณต้องมั่นตรวจสอบอีเมล์ที่เป็นอีเมล์ตีกลับ หรือ Bounce แล้วจัดการกับอีเมล์ตีกลับเหล่านั้นทันที เช่น แก้ไขอีเมล์เหล่านี้ให้ถูกต้องหรือลบออกจากระบบส่งอีเมล์ของคุณ
            คุณอาจจะหลีกเลี่ยงการส่งอีเมล์จำนวนมากให้กับผู้ให้บริการส่งอีเมล์ หรือ เอาท์ซอรท์ให้กับบริษัทอื่นส่งอีเมล์จำนวนแทนคุณ เพราะผู้ให้บริการเหล่านี้จะมีเครื่องมือในการจัดการกับอีเมล์ที่เป็น Opt-out ได้ดีกว่า และยังป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอีเมล์เซิรฟ์เวอร์ของคุณด้วย
            สุดท้าย ผมยังยืนยันว่า การตลาดแบบ Opt-in ย่อมดีที่สุด และจะไม่เกิดความเสียหายกับแบรนด์ของคุณด้วย แต่หากหลีกเลี่ยงในการใช้การตลาดแบบ Opt-out ไม่ได้ คุณก็เลือกใช้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

นาวิก นำเสียง
www.ecampaign101.com
eCampaign101 Email & SMS Marketer

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

วันจันทร์และวันศุกร์ – ไม่ใช่วันของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์


สำหรับ นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจที่ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการ ประชาสัมพันธ์และการตลาดแล้ว การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละแคมเปญนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังลูกค้าหรือสมาชิกจำนวนมากๆ ด้วยแล้ว เพราะคุณมีเพียงโอกาสเดียวเท่านั้นในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ คุณไม่สามารถที่จะดึงมันกลับมาได้ หากคุณเปลี่ยนใจ
 
หนึ่ง ในเทคนิคที่สำคัญในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์คือการไม่ส่งจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ในวันจันทร์และวันศุกร์ ทำไมต้องเป็นวันจันทร์และวันศุกร์ ด้วย
 
เหตุผล ง่ายๆ คือ หลายคนมักจะใช้งานอินเตอร์เน็ตและตรวจสอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ณ ที่ทำงาน ดังนั้น กล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มักจะเต็มหรือมีรายการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ค้าง เป็นจำนวนมากในวันจันทร์ เพราะหลายคนจะไม่ตรวจสอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกส่งในวันจันทร์ก็จะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
 
แต่ ในวันศุกร์นั้นจะแตกต่างกัน หลายคนมักจะกระตือรือร้นที่จะออกจากที่ทำงานหรือไม่สนใจในกิจกรรมต่างๆ ในวันศุกร์ ดังนั้น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกส่งไปในวันศุกร์ก็จะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เหมือนกัน
 
คุณ จะต้องเตรียมการและวางแผนล่วงหน้าสำหรับกำหนดการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้ ดีๆ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างวันอังคารถึงวันพฤหัสนั้นจะได้ผลลัพธ์ที่ ดีที่สุดเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้ในทุกๆ กรณี เช่น หากกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กนักเรียนและคนสูงอายุ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในวันเสาร์และวันอาทิตย์น่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดี กว่า เป็นต้น
 
ถ้า คุณจำเป็นต้องส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในวันจันทร์และวันศุกร์ คุณอาจจะต้องเน้นมุมมองที่ดีๆ ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของคุณ เพื่อให้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์มีความน่าสนใจมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ขึ้นต้นหัวข้อเรื่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย “เริ่มต้นวันจันทร์อย่างสดใสด้วย ...” สำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในวันจันทร์ หรือ หัวข้อเรื่อง “ส่วนลดพิเศษในวันสุดสัปดาห์นี้” สำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในวันศุกร์ เป็นต้น คุณอาจจะเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้กระชับขึ้นและสั้นลง เนื่องจากผู้อ่านจะไม่มีเวลามากนั้น เพราะยังมีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ค้างอยู่เป็นจำนวนมากหรือกระตือรือร้นที่จะออกจากที่ทำงาน แต่ถ้าหลีกเลี่ยงข้อความยาวๆ ไม่ได้ อาจจะเพิ่มข้อความแนะนำให้บันทึกข้อความ (Save) เพื่อเก็บไปอ่านในวันเสาร์และวันอาทิตย์ก็ได้
 
การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในระหว่างวันทำงานมีความจำเป็นมากขนาดหรือ?
 
คำ ตอบก็คือ ใช่ในบางกรณี ไม่ใช่ในทุกๆ กรณี การประเมินอัตราส่วนการตอบรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Response rate และ Open rate) ของแต่ละแคมเปญและแต่ละวันที่ส่งจะช่วยปรับปรุงการส่งและรับทราบว่าวันที่ดี ที่สุดในการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย คุณจะต้องทดสอบส่งหลายๆ ครั้งด้วย เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้รับอาจจะไม่ได้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ตั้งใจให้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์นั้นด้วย
 
ความ จริงแล้วคงจะไม่มีกฎอะไรตายตัวว่าจะเป็นวันไหนจะดีที่สุดในการส่งจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ แต่กลยุทธ์ที่ดีที่สุดก็คือการทดสอบส่งและประเมินผลลัพธ์นั่นเอง

ผู้แต่ง : นาวิก นำเสียง

กลยุทธ์ข้อความลายเซ็น

สำหรับ ผู้อ่านที่ใช้งานอีเมล์เป็นประจำ ท่านอาจจะเคยสังเกตเห็นการลงลายเซ็น (Signature File) ท้ายข้อความในอีเมล์จากผู้ส่งอีเมล์มาหาท่าน การลงลายเซ็นนี้ก็เปรียบเสมือนกับนามบัตรของผู้ส่งนั่นเอง มันสามารถบ่งบอกได้ว่าผู้ส่งอีเมล์ดำเนินธุรกิจอะไร ขายสินค้าหรือบริการอะไรอยู่ นอกจากนี้ผู้ส่งอีเมล์ยังสามารถที่จะประชาสัมพันธ์กิจกรรมการตลาดหรือโปรโมชั่นสินค้าผ่านข้อความลายเซ็นนี้อีกด้วย
 
 
ลายเซ็นเป็นข้อความที่จะปรากฏทุกครั้งที่คุณส่ง (Send หรือ Post) ข้อความอีเมล์ คุณสามารถติดตั้งคุณสมบัติและกำหนดข้อความลายเซ็นได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าคุณจะใช้โปรแกรมอีเมล์อย่าง Outlook, Eudora หรือ ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ก็ตาม อีกทั้ง คุณสามารถเลือกใช้ หรือ ไม่ใช้ คุณสมบัตินี้เมื่อใดก็ได้
 
ลาย เซ็นได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญและได้รับความนิยมมาโดยตลอด โดยเฉพาะนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการเพิ่มคุณสมบัติข้อความลายเซ็นไม่ได้ทำให้ค่าใช้จ่ายของท่าน เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด บริการฟรีอีเมล์อย่าง Hotmail ก็ใช้กลยุทธ์การลงลายเซ็นกับอีเมล์ทุกฉบับที่สมาชิกส่ง เพียงแค่ข้อความสั้นๆ ว่า “Get Your Private, Free Email at http://www.hotmail.com ในทุกๆ อีเมล์ ก็ทำให้บริการฟรีอีเมล์อย่าง Hotmail ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งในระยะเวลาอันสั้น
 
องค์ประกอบหลักของข้อความลายเซ็นก็คือ
  • ชื่อของท่าน
  • ที่อยู่อีเมล์ของท่าน
  • ชื่อบริษัทของท่านพร้อมเว็บไซต์
 
นอกจากนี้ ท่านสามารถจะบรรจุรายละเอียดของ
  • เบอร์โทรศัพท์สำหรับการติดต่อ
  • ที่อยู่ไปรษณีย์ของท่าน
  • สโลแกนหรือประโยคที่จะบ่งถึงความเป็นตราสินค้าของท่าน
  • และสุดท้าย ท่านสามารถที่บรรจุข้อความประชาสัมพันธ์โฆษณาเพื่อให้เกิดกิจกรรมตามมา (Call to action) ได้
 
ท่าน อาจจะสังเกตตัวอย่างของลายเซ็นที่ท่านได้รับแล้วคัดเลือกมาเป็นต้นแบบของ บริษัทแล้วให้พนักงานทุกคนในบริษัทปฏิบัติตาม ตัวอย่างเว็บไซต์นี้ได้รวบรวมลายเซ็นที่ท่านสามารถจะเลือก ใช้ได้ http://www.contrib.andrew.cmu.edu/~moose/sigs.html
 
ก่อน ที่ท่านจะเลือกลายเซ็นใด ท่านอาจจะลองทดสอบส่งไปหากลุ่มเป้าหมายก่อนว่าลายเซ็นนี้ใช้ได้ผลหรือไม่ โดยเฉพาะข้อความลายเซ็นเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการด้วยแล้ว โดยทั่วไป ข้อความลายเซ็นควรจะมีความยาวไม่เกิน 6 บรรทัด ถ้าข้อความลายเซ็นยาวเกินไป ผู้รับอาจจะไม่สนใจข้อความลายเซ็นนั้นไปเลย โดยเฉพาะบรรทัดสุดท้ายอาจจะตกขอบจอคอมพิวเตอร์ได้
 
สุดท้าย ท่านอาจจะมีข้อความลายเซ็นได้มากกว่าหนึ่งลายเซ็น ท่านสามารถเลือกลงลายเซ็นตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายอาจจะแบ่งตามประเภทของผู้รับ เช่น ลูกค้า ผู้ขาย พันธมิตร เพื่อน เป็นต้น และอาจจะแบ่งตามภาษาที่ใช้ด้วย เพราะผู้รับบางท่านอาจจะอ่านภาษาไทยไม่ได้ ท่านก็ต้องใช้ข้อความลายเซ็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นที่อ่านได้ 
 
ผู้แต่ง : นาวิก นำเสียง
บริษัท ซันเด โซลูชันส์​ จำกัด
www.sundae.co.th 

ทำไมธุรกิจถึงเข้าสู่การตลาดจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

อินเตอร์เน็ต ได้กลายเป็นช่องทางใหม่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กรกับองค์กร หรือ องค์กรกับบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในเครื่องมือนั้นก็คือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์   ร้อยละ 68 ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตนั้นจะใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นประจำ ข้อมูลจาก Nielsen/NetRatings เดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ระบุว่า ร้อยละ 35 ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในสหรัฐฯ จะเชื่อมต่อโปรแกรมจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไมโครซอฟต์ เอาท์ลุก ตลอดเวลาขณะที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้านี้ และเชื่อกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเกือบทั้งหมดจะเชื่อมต่อโปรแกรมจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ตลอด เวลา นั้นหมายความว่าคุณสามารถเข้าถึงทุกคนด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เหมือนกับการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่เลยทีเดียว

 
ด้วย ศักยภาพและแนวโน้มการใช้งานของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงขึ้น จึงทำให้บริษัทต่างๆ หันมาสนใจที่จะใช้การตลาดจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยจะเข้ามาแทนที่การตลาดผ่านจดหมายไปรษณีย์แบบดั้งเดิมหรือแม้กระทั่งการ ตลาดด้วยสื่อโทรทัศน์ วิทยุหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ เหตุผลหลักๆ ที่ธุรกิจเข้าสู่การตลาดจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นก็คือ

ค่าใช้จ่ายที่ต่ำของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดแสตมป์ ค่าพิมพ์และค่ากระดาษ ซึ่งต้นทุนเหล่านี้จะประมาณร้อยละ 60 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด จากประสบการณ์แล้วค่าใช้จ่ายในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อส่งจดหมายไปรษณีย์ (ไดเร็คเมล์) ก็ประมาณ 5-20 บาทต่อชุด (ขึ้นอยู่กับจำนวนจดหมายที่ส่ง) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์แล้วก็จะประมาณ 0-1 บาทต่อชุดเท่านั้น (ประมาณว่า 1,000-5,000 บาทต่อการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อแคมเปญ) 

ความเร็ว (Speed-to-Market) ด้วยสาเหตุที่ไม่มีขั้นตอนในการพิมพ์ จึงทำให้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์นั้นสะดวก ง่ายและรวดเร็วในการปฏิบัติ ความเป็นจริงแล้วเราก็สามารถส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ อย่างทันที แต่โดยทั่วไปแล้วเราจะใช้เวลาไม่เกิน 3 วันจากเริ่มต้นแนวคิดจนถึงการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้รับข้อความ 

ประสิทธิภาพ (Efficient) จากรายงานของ Aberdeen Group “Responsys.com Profile”
ระบุ ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว อัตราการตอบรับ (Response rate) ด้วยจดหมายไปรษณีย์นั้นมีเพียงร้อยละ 1-2 เท่านั้น หมายความว่าหนึ่งร้อยคนที่ได้รับจดหมายนั้น จะติดต่อหรือสนใจในบริการเพียง 1-2 คนเท่านั้น หรืออัตราการตอบรับด้วยการคลิก (Click-thru-rate) ของสื่อโฆษณาออนไลน์ด้วยโฆษณาแบนเนอร์นั้นน้อยกว่าร้อยละ 1 ซึ่งเมือเปรียบเทียบกับร้อยละ 10-15 ของอัตราการตอบรับด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบการตลาดอนุญาต (Permission Marketing) แล้ว การตลาดจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้สร้างโอกาสให้นักการตลาดและปรับปรุง ประสิทธิภาพในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับการส่งจดหมายแบบเดิมถึง 5 เท่า และการใช้สื่อโฆษณาออนไลน์ถึง 20 เท่า 

สุดท้าย การวัดผล (Measurable) ด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต นักการตลาดสามารถที่จะเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการได้อย่าง มีประสิทธิภาพและด้วยความแม่นยำ ผู้ใช้บริการแต่ละรายที่เข้าสู่ระบบของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการระบุชื่อผู้ใช้และรหัสลับ หรือวิธีอื่น จะถูกเก็บข้อมูลไว้เพื่อใช้ประกอบในการจัดแบ่งกลุ่มและส่งข้อความตามลักษณะ ของผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งด้วยวิธีนี้ผู้รับข้อความก็จะได้รับข้อความที่ตรงตามความต้องการมาก ที่สุด (Personalization) นอกจากนี้แล้วในแต่ละแคมเปญของการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ นักการตลาดยังสามารถที่จะวิเคราะห์แคมเปญนั้นๆ ได้ อาทิ อัตราการเปิดรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Open rate) อัตราการตอบรับ (Click thru rate) อัตราการยกเลิกรับ (Unsubscribe) เป็นต้น ซึ่งจะช่วยการวิเคราะห์ชองนักการตลาดได้ดียิ่งขึ้นและปรับปรุงในแคมเปญต่อไป

อย่างไร ก็ตาม การตลาดด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ยังไม่สามารถที่จะแทนที่การตลาดแบบ ดั้งเดิมได้ทั้งหมด โดยเฉพาะการตลาดด้วยจดหมายไปรษณีย์ เพราะการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนั้นยังอยู่ในวงแคบอยู่ จะมีเฉพาะกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเท่านั้นที่สามารถจะรับสื่อการตลาดจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ได้

ผู้แต่ง : นาวิก นำเสียง
บริษัท ซันเด โซลูชันส์​ จำกัด
www.sundae.co.th